Back to Top

EP.6 มหัศจรรย์เส้นใยแก้วนำแสง

 |  Articles

5  Aug 2022

มหัศจรรย์เส้นใยแก้วนำแสง

          การสื่อสารในสายไฟเบอร์ออปติก คือ การเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้า (ข้อมูล) ให้เป็นคลื่นแสงก่อนจากนั้นจึงส่งออกไปเป็นพัลส์ของแสงผ่านสายไฟเบอร์ออปติกซึ่งทำมาจากแก้ว หรือพลาสติกที่สามารถส่งลำแสงให้ผ่านสายได้ทีละหลายๆ ลำแสงด้วยมุมที่ต่างกัน ลำแสงที่ส่งออกไปเป็นพัลส์นั้น จะสะท้อนกลับไปมาที่ผิวของสายชั้นในไปจนถึงปลายสาย

          เส้นใยนำแสงโดยทั่วไปทำด้วยแก้วที่มีความยืดหยุ่น ซึ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กมากประมาณ 0.01 – 0.1 มิลลิเมตร ตัวแก้วของเส้นใยถูกล้อมรอบด้วยสารที่มีดัชนีหักเหน้อยกว่า เพื่อให้รังสีแสงภายในแก้วเกิดการสะท้อนกลับหมด เส้นใยนำแสงจำนวนนับพันเส้นจะถูกนำมามัดรวมกัน (Light pipe) เนื่องจากเส้นใยแก้วนำแสงมีขนาดเล็กมาก จึงสามารถดัดให้โค้งงอเป็นวงโดยไม่แตกหัก การนำเส้นใยนำแสงมาใช้งานอาศัยหลักการสะท้อนกลับหมดของแสง รังสีของแสงสามารถเดินทางภายในแก้วไปได้ไกลๆ เส้นใยแก้วนำแสงสามารถทำให้ยาวได้ถึง 200 กิโลเมตร

          เส้นใยแก้วนำแสงสามารถนำใช้ประโยชน์ได้มากมาย ทั้งทางด้านโทรคมนาคมและทางการแพทย์ โดยเฉพาะด้านโทรคมนาคมการสื่อสาร เส้นใยแก้วนำแสงนับได้ว่ามีประสิทธิภาพมากกว่าสายเคเบิ้ลทองแดงแบบเดิมๆ เนื่องจากสายทองแดงที่ใช้ใน ADSL นั้น มีค่าการลดทอนสัญญาณที่สูง เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับสายไฟเบอร์ออปติก ซึ่งให้ค่าลดทอนสัญญาณที่ต่ำกว่า สิ่งนี้เองเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ให้บริการส่วนใหญ่เลือกสายไฟเบอร์ออปติก เป็นสายเคเบิ้ลในการให้บริการ internet ความเร็วสูง  เพราะค่าการลดทอน คือค่าบ่งชี้ถึงพลังงานที่สัญญาณสูญเสียไปตามช่วงคลื่นความยาวต่างๆ มีค่าต่ำมาก

          ส่วนการบรรจุข้อมูลลงในสัญญาณแบนด์วิดธ์ หรือ อัตราการส่งข้อมูลผ่านตัวกลาง ซึ่งหากพิจารณาคุณสมบัติเปรียบเทียบระหว่าง สายทองแดง และสายไฟเบอร์ออปติก จะพบว่า สายไฟเบอร์ออปติก มีการสูญเสียสัญญาณในแต่ละความถี่ต่างๆ ต่ำกว่าสายทองแดงอย่างมาก

          ในเรื่องของขนาด สายเส้นใยแก้วนำแสงนับว่ามีขนาดเล็กมาก อยู่ในระดับหน่วย ไมครอน จึงทำให้มีน้ำหนักเบาดั่งเส้นผมเส้นหนึ่งเท่านั้น  ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับสายทองแดงแล้ว หากต้องการส่งข้อมูลที่เท่ากัน สายไฟเบอร์ออปติก จะเบากว่าสายทองแดงหลายเท่าตัวเลยทีเดียว

การนำเส้นใยแก้วนำแสงมาใช้ประโยชน์

ทางด้านการสื่อสาร

          ปัจจุบันนี้ได้มีการนำเส้นใยแก้วนำแสงมาใช้ในการสื่อสาร โดยการส่งสัญญาณด้วยแสงไปในเส้นใยนำแสงแทนการส่งสัญญาณด้วยไฟฟ้าในโลหะตัวนำ ดังนั้นเส้นใยนำแสงจึงถูกนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆของการสื่อ สารดังนี้

1. ด้านโทรศัพท์ มีการนำเส้นใยแก้วนำแสงมาใช้แทนเคเบิลทองแดงในระบบโทรศัพท์การพูดคุยทางโทรศัพท์จะถูกส่งไปตามเส้นใยแก้วนำแสง ทำให้ผู้คนมากสามารถพูดคุยโทรศัพท์ผ่านทางเส้นใยแก้วนำแสงเส้นเดียวกันในเวลาเดียวกันได้

2. ด้านคอมพิวเตอร์ เส้นใยนำแสงสามารถนำมาใช้ในการส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆได้

3. ด้านโทรทัศน์ เส้นใยแสงสามารถส่งสัญญาณโทรทัศน์มากกว่า 10 ช่อง

ทางด้านการแพทย์

          แพทย์ได้ใช้ Fiber Scope หรือ Endoscope ซึ่งประกอบด้วยมัดเส้นใยนำแสง 2 มัด มาช่วยตรวจอวัยวะภายใน เช่น ใช้ตรวจดูภายในกระเพาะอาหาร โดยแพทย์จะสอดมัดเส้นใยนำแสงด้านขวามือลงในกระเพาะอาหารของคนไข้ ขณะที่ให้แสงเข้ามัดเส้นใยนำแสงด้านซ้ายมือผ่านกลุ่มเส้นใยนำแสงรอบนอกของมัดแรก เมื่อแสงตกกระทบที่ผนังกระเพาะอาหารบริเวณที่ต้องการตรวจ แสงจะสะท้อนกลับออกมาทางกลุ่มเส้นใยนำแสงด้านในทำให้แพทย์มองเห็นภาพของบริเวณที่ตรวจได้ ซึ่งภาพที่มองเห็นเกิดจากเส้นใยนำแสงแต่ละเส้นนำแสงสะท้อนจากบริเวณเล็กๆ เมื่อรวมกันทั้งกลุ่มจึงเกิดเป็นภาพขึ้นได้ กลุ่มเส้นใยนำแสงนี้จึงเปรียบเสมือนตาประกอบของแมลงนั่นเอง และเมื่อต่ออุปกรณ์นี้เข้ากับกล้องถ่ายรูป ก็จะทำให้สามารถถ่ายภาพบริเวณที่ตรวจได้

          สายไฟเบอร์ออปติกนับว่ามีประโยชน์มากมาย และเกิดขึ้นจากการพัฒนาเทคโนโลยีไปตามพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการทำงานในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม แม้เส้นใยแก้วนำแสงจะมีประโยชน์มากมายขนาดไหน ทุกๆสิ่งย่อมมีข้อเสียหรือจุดอ่อนอยู่บ้าง ในบทความหน้า เราจะมาดูว่า คนทำงานหลายๆคนมักเจอกับปัญหาที่เกิดจากการใช้งานสายไฟเบอร์ออปติกแบบใด และเกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง

อ้างอิง

  • condonewb.com

This image has an empty alt attribute; its file name is 2-logo-edited-1.png

          บทความที่น่าสนใจ

        รู้จักกับ Fluke Network

        เส้นสายสร้างโลกกว้าง

        เน็ตช้า หลุดบ่อย มีสัญญาณแต่ใช้การ
        ไม่ได้ ปัญหาแบบนี้... ฉันก็เคยเจอ

        LinkIQ เครื่องมือทดสอบระบบ
        เครือข่ายที่พัฒนาอีกขั้น

        เส้นใยแก้วนำความก้าวหน้า

        ความมหัศจรรย์ของเส้นใยแก้วนำแสง


        สาเหตุที่ทำให้ใช้สายไฟเบอร์แล้ว
        หลุด สัญญาณหาย จนน่าหงุดหงิด

        FiberLert เครื่องมือตรวจสอบ
        สายไฟเบอร์ที่ใช้งานง่ายที่สุด
        ที่คุณเคยพบเจอ

        การตรวจสอบรับรองสายสัญญาณ
        ระดับมาตรฐานโลกและ TOR ใน
        ประเทศไทย



        DSX CableAnalyzer™ Series V.1



        DSX CableAnalyzer™ Series V.2



        DSX CableAnalyzer™ Series V.3

 Fluke Network, สายเคเบิล, เครือข่าย, อีเทอร์เน็ต, Ethernet, POE, LinkIQ, เครื่องมือทดสอบสายเคเบิล, Fiber Optic, สายไฟเบอร์

« Back
© Developed by CommerceLab