Back to Top

EP.2 เส้นสายสร้างโลกกว้าง

 |  Articles

5 Aug. 2022

เส้นสายสร้างโลกกว้าง

          คนในยุคมิลเลนเนียลที่เข้าสู่วัยทำงานในระหว่างช่วงปี พ.ศ. 2546-2559 มีความคุ้นเคยดีกับสิ่งที่เป็นดิจิตอล ทั้งการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง การใช้สมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์เชื่อมต่อระบบเครือข่ายในทุกรูปแบบ แม้คนในยุคนี้จะได้รับประสบการณ์ของเทคโนโลยีขั้นสูงเหล่านี้ในระหว่างการใช้ชีวิต แต่ส่วนมากก็คงไม่ได้ตระหนักหรอกว่า สายเคเบิลที่ทำจากทองแดงต่างๆ ได้ถูกพัฒนาและเดินทางผ่านกาลเวลามาอย่างยาวไกลแค่ไหนเพื่อมาให้ถึงวันที่เครือข่ายที่มีสายเคเบิ้ลเป็นพื้นฐานเหล่านี้สามารถทำให้โลกกว้างขึ้นได้อย่างทุกวันนี้ 

สายเคเบิลอีเทอร์เน็ตประเภทต่างๆ

          ระบบอีเทอร์เน็ต ได้รับการพัฒนามาตั้งแต่ปี พ.ศ.2516 โดย Bob Metcalfe ที่ศูนย์วิจัย Xerox Palo Alto และใช้สายเคเบิลทองแดงแบบหนา ประเภทโคแอกเซียลในระยะเริ่มต้น

          เวอร์ชั่นแรก แบบ 10BASE5 มีความโดดเด่นมากด้วยสายเคเบิลที่มีความแข็งมาก โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางเกือบครึ่งนิ้ว เวอร์ชั่นต่อมา 10BASE2 มีความหนาลดลง และความยืดหยุ่นมากขึ้นกว่าครึ่งหนึ่งของเวอร์ชั่นแรก ในช่วงปลายทศวรรษ 1980 การพัฒนาอีเทอร์เน็ตฮับและสวิตช์ ทำให้สายเคเบิลแบบสายคู่บิดเกลียว กลายเป็นสื่อกลางในการเชื่อมต่ออีเทอร์เน็ต

ประเภทที่ 3 – 4 – และ 5

          ในปี พ.ศ. 2532 Anixter ผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์สายเคเบิล ได้เปิดตัวโปรแกรม “Levels” หรือ ระบบการระบุประสิทธิภาพของสายเคเบิลรับส่งข้อมูล ขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งมันก็ได้กลายเป็นพื้นฐานที่ก่อให้เกิดสายเคเบิ้ลที่มีการจำแนกประเภทตามมาตรฐานอย่างเป็นทางการ ต่อมาได้มีการรับรองสายเคเบิ้ลประเภทที่ 3 โดยสมาคมอุตสาหกรรมการสื่อสารโทรคมนาคม  มันรองรับความเร็วในการใช้งานที่ 10 Mbps และเป็นต้นแบบในการวิวัฒนาการสายเคเบิ้ลประเภททวิสต์แพร์ในอีก 30 ปีต่อมา แม้ในปัจจุบันเคเบิ้ลประเภทที่ 3 นี้ จะไม่ได้รับการแนะนำให้ใช้งานจากมาตรฐานอุสาหกรรมอีกต่อไป สายเคเบิ้ลประเภทที่ 3 นี้ ก็ยังคงได้รับการนำมาติดตั้งในอาคารพาณิชย์ต่างๆอยู่บ้างสำหรับใช้งานในด้านเสียง สายเคเบิ้ลประเภทที่ 3 และ 4 ถูกนำมาใช้งานอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง และในที่สุดก็ตกลำดับไป เนื่องจากถูกแทนที่ด้วยเคเบิ้ลประเภทที่ 5 อย่างรวดเร็ว

ประเภท 5e และ 6

          ประมาณ พ.ศ. 2544 สายเคเบิ้ลประเภท 5e เปิดตัวด้วยประสิทธิการป้องกันการถูกรบกวนสัญญาณที่ดีขึ้น เพื่อให้รองรับความเร็วระดับกิ๊กกะบิท จากนั้น ประเภทที่ 6 ก็ออกมา ซึ่งรองรับความเร็วได้ถึง 10 Gbps แต่ยาวสูงสุดเพียง 35 เมตร จากการทดสอบคุณภาพสายเคเบิ้ลประเภท 5e และ 6  มันสามารถใช้งานกับ Wi-Fi 6 ได้ที่ความเร็ว 2.5Gิb/s และ 5.0Gb/s และมีความยาวสายเคเบิลสูงสุดถึง 100 เมตร และสามารถใช้งานกับความเร็ว 10Gb/s ได้ถึง 55 เมตรด้วย

ประเภท 6A

          สายเคเบิ้ลประเภท 6A ถูกรับรองให้มีขีดความสามารถใช้ได้กับความเร็ว 10Gbps ได้ถึง 100 เมตร โดยมันเป็นสายเคเบิลที่ถูกแนะนำให้นำมาใช้สำหรับการติดตั้งสาย LAN รุ่นใหม่ทั้งหมดที่ติดตั้งในแนวราบ แม้ว่าตอนนี้ สายเคเบิ้ลรุ่นนี้ จะมีมานานกว่า 1 ทศวรรษแล้ว แต่สายเคเบิ้ลประเภท 6A นี้ ก็ยังคงถูกใช้งานอยู่ ใน 5 ปีที่ผ่านมานี้ คุณสมบัติจำเพาะของสาย LAN ทั่วๆไปในปัจจุบัน สายต้องรองรับความเร็วได้ถึง 10Gb/s แต่มันก็ยังถูกนำมาใช้ในงานที่มีความเร็วประมาณ 1000 Mb/s หรือน้อยกว่านั้นด้วย

ประเภท 7, 7A และ 8

          สายเคเบิ้ลประเภท 7 และ 7A ถูกรับรองในปี 2002 และ 2010 ตามลำดับ โดย ISO/IEC แม้ว่าสายประเภท 7A จะไ่ม่ได้ถูกรองรับโดย TIA แต่ก็ยังคงเป็นที่แพร่หลายในยุโรปในการใช้งานที่ความเร็ว 10Gbps ต่อมา สายประเภท 8 เป็นสายที่ได้รับความนิยมมาก ในฐานะที่มันรองรับความเร็ว 25 Gbps และ 40 Gbps ได้ที่ความยาวสูงสุด 30 เมตรในการเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ โดยไม่ต้องถอดออก การใช้งานสายประเภท 8 จึงทำให้มีปัญหาด้านการใช้พลังงาน ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีตัวรับส่งสัญญาณช่วยให้ศูนย์เซิร์ฟเวอร์สามารถใช้งานสายประเภท 8 ได้ง่ายมากขึ้น ด้วยการใช้สายต่อตรงแบบ SFP28 และ SFP56 ในการกำหนดค่า ToR หรือ การรวมสายออปติก และการวางโครงสร้างสายไฟเบอร์ที่มีการเชื่อมต่อยาวขึ้น และบางครั้งมันยังถูกนำมาใช้งานทดแทนสายประเภท 6 ด้วย และใช้ในงานที่ต้องการการรองรับความเร็วที่สูงกว่าเคเบิ้ลประเภท 6 จะสามารถรองรับได้

Ethernet Cable Category Comparison

*1 อาจมากถึง 2.5 หรือ 5 Gb/s ในบางแหล่งข้อมูล
*2 อาจมากถึง 2.5, 5, หรือ 10 Gb/s ในบางแหล่งข้อมูล

ทำไมพวกเรายังคงใช้สายเคเบิ้ลทองแดงกันอยู่?

          แม้สายเส้นใยแก้วจะลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งทำให้ราคาของการวางระบบสายไฟเบอร์ในภาพรวมถูกลง แต่ระบบวางสายเคเบิ้ลทองแดงก็ยังถูกกว่าอยู่ดี เมื่อพิจารณาการใช้งานจริงๆ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในงานติดตั้งสายแบบทองแดงก็ยังสามารถหาซื้อได้ง่ายกว่า และใช้เทคนิคในการติดตั้งง่ายกว่า ดังนั้นสายเคเบิลแบบทองแดง จึงเป็นที่นิยมใช้งานโดยพฤนัยมากกว่าในงานติดตั้งสาย LAN ในแนวราบ

POE เส้นสายแห่งข้อมูลและพลังงาน

          PoE ย่อมาจาก Power over Ethernet ซึ่งเป็นสายเคเบิ้ลทองแดง ที่นอกจะส่งผ่านข้อมูลได้แล้ว ยังมีคู่สายที่สามารถจ่ายไฟฟ้าไปยังอุปกรณ์ต่างๆได้ด้วย โดยที่เราไม่ต้องเดินสายไฟฟ้าเพิ่ม โดยเทคโนโลยี PoE เริ่มใช้จริงจังตั้งแต่ปี 2003 เป็นต้นมาหลังจาก IEEE ออกมาตรฐาน IEEE 802.3af มา

          ซึ่ง PoE ในเวอร์ชั่นแรกนี้สามารถจ่ายไฟได้สูงสุด 15.4 W ต่อสายแลน 1 เส้น แล้วก็พัฒนาต่อมาเป็น PoE+ หรือ IEEE 802.3at ที่จ่ายไฟได้ 30 W ในปี 2009 และมาตรฐานล่าสุดที่กำลังจะออกในปี 2018 นี้คือ IEEE 802.3bt ที่สามารถจ่ายไฟได้สูงสุด 100 W

          ปัจจุบัน ดูเหมือนว่าอุปกรณ์ต่างๆแทบทุกอุปกรณ์จะใช้สาย PoE รองรับการจ่ายไฟ การผสมผสานกันระหว่างสายทองแดงและสายส่งพลังงานไฟฟ้า ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่เป็นเทคโนโลยีอัจฉริยะขั้นสูงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น WiFi ความเร็วสูง หรือ งานด้านภาพและเสียงที่มีการถ่ายทอดผ่านระบบอินเตอร์เน็ต (AV over IP) และ การส่งสัญญาณดิจิตอลในระบบกระจายสัญญาณ ระบบกล้องวงจรปิด และการเปิดปิดไฟฟ้าผ่านอุปกรณ์ IoT

อนาคตของสายเคเบิลทองแดง

          เนื่องจากการเกิดขึ้นของอุปกรณ์ IoT (Internet of Things) ทำให้มีอุปกรณ์ต่างๆบนเครือข่ายเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากอุปกรณ์ IoT จำนวนมากในปัจจุบัน ยังเป็นอุปกรณ์ที่ยังต้องพึ่งพาสายรับส่งข้อมูลและกำลังไฟ การเกิดขึ้นของ IoT นี้ จึงจะช่วยรักษาจุดยืนของสายเคเบิ้ลทองแดงเอาไว้ได้ในระยะหนึ่ง เทคโนโลยีหนึ่งที่องค์กรต่างๆกำลังใช้งานในปัจจุบัน คือ สาย SPoE (Simplified Power over Ethernet) ซึ่งเป็นสายแบบ Twist Single-paired PoE หรือ สาย PoE คู่สายเดี่ยวแบบทวิสต์ที่สามารถจ่ายไฟได้ตั้งแต่ 7 ถึง 52 วัตต์ สายชนิดนี้มีอัตราความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลต่ำ ใช้กำลังไฟต่ำ เหมาะกับอุปกรณ์อย่าง เซ็นเซอร์ และ ตัวควบคุมต่างๆ ที่นำมาใช้งานในระบบอัตโนมัติ สาย SPoE นี้ รองรับความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลอยู่ที่ประมาณ 10Mbps และมีความยาวได้มากถึง 1,000 เมตร

Fluke Network ยังคงก้าวต่อไป

          ในขณะที่สายทองแดงได้รับการพัฒนามาตลอดระยะเวลาหลายปี การทดสอบต่างๆยังคงดำเนินต่อไป โดยที่ Fluke Network’ DTX CableAnalyzer ได้นำการรับรองการจัดประเภทสายเคเบิลทองแดงแบบใหม่ทั้งหมดมาอยู่ภายใน DSX CableAnalyzer™ Series Copper Cable Certifiers (2013) ทำงานร่วมกับ Versiv ซึ่งจะช่วยให้การรับรองสายเคเบิ้ลเมื่อทำการทดสอบเป็นไปอย่างรวดเร็ว ติดตั้งได้รวดเร็ว ลดความผิดพลาด และสามารถรายงานผลได้ง่าย อีกทั้งยังสามารถอัพเกรดเฟิร์มแวร์ได้อีกด้วย DSX CableAnalyzer™ สามารถจำแนกการรับรองประเภทของสายเคเบิ้ลทองแดงได้ทุกประเภท รวมทั้ง ประเภท 5e และ 5 ที่ความเร็ว 2.5/5GBASE-T

          Fluke Network ยังคงพัฒนาเทคโนโลยีของการรับรองเคเบิ้ลทองแดงให้สูงยิ่งขึ้นด้วยโซลูชั่นอย่าง LinkIQ™ Cable + Network Tester โซลูชั่นที่จะตอบโจทย์การตรวจวัดคุณภาพของสายเคเบิ้ลทองแดง และ การตรวจวัดโหลดของสาย PoE แบบเรียลไทม์ อีกทั้ง Fluke Network ยังคอยจับตามองการเกิดเทคโนโลยีใหม่อย่างสายเคเบิ้ลอีเทอร์เน็ตแบบคู่สายเดียวด้วย แต่นั่นยังไม่ใช่ทั้งหมดของสิ่งที่ Fluke Network ยังคงเดินหน้าพัฒนาต่อเนื่อง ตลอด 1 ทศวรรษที่ผ่านมา Fluke Network ได้ทำให้การทำเอกสารและรายงานต่างๆ สามารถทำได้โดยง่าย ด้วยโปรแกรม LinkWare Live โปรแกรมในรูปแบบที่ให้บริการร่วมกันกับคลาวน์ ซึ่งช่วยให้สามารถอัพโหลดผลทดสอบได้จากทุกที่บนโลก อีกทั้งยังมีฟีเจอร์อีกมากมาย เช่น การเชื่อมต่อแบบไวร์เลส การติดตามด้วยระบบ GPS การคาลิเบรท และรายงานสถานะของเฟิร์มแฟร์ด้วย

อ้างอิง

This image has an empty alt attribute; its file name is 2-logo-edited-1.png

        บทความที่น่าสนใจ

        รู้จักกับ Fluke Network

        เส้นสายสร้างโลกกว้าง

        เน็ตช้า หลุดบ่อย มีสัญญาณแต่ใช้การ
        ไม่ได้ ปัญหาแบบนี้... ฉันก็เคยเจอ

        LinkIQ เครื่องมือทดสอบระบบ
        เครือข่ายที่พัฒนาอีกขั้น

        เส้นใยแก้วนำความก้าวหน้า

        ความมหัศจรรย์ของเส้นใยแก้วนำแสง


        สาเหตุที่ทำให้ใช้สายไฟเบอร์แล้ว
        หลุด สัญญาณหาย จนน่าหงุดหงิด

        FiberLert เครื่องมือตรวจสอบ
        สายไฟเบอร์ที่ใช้งานง่ายที่สุด
        ที่คุณเคยพบเจอ

        การตรวจสอบรับรองสายสัญญาณ
        ระดับมาตรฐานโลกและ TOR ใน
        ประเทศไทย



        DSX CableAnalyzer™ Series V.1



        DSX CableAnalyzer™ Series V.2



        DSX CableAnalyzer™ Series V.3

 Fluke Network, สายเคเบิล, เครือข่าย, อีเทอร์เน็ต, Ethernet, POE, LinkIQ, เครื่องมือทดสอบสายเคเบิล

« Back
© Developed by CommerceLab