การใช้งาน IOT2040 ร่วมกับ Node-red นั้นมีจุดเด่นอยู่ที่ Node-red ได้เตรียมคำสั่งต่างๆที่รองรับการใช้งาน Internet of things เอาไว้มากมาย ซึ่งอีกคำสั่งที่มีประโยชน์อย่างมากคือเราสามารถส่งคำสั่ง http request ออกไปได้ด้วย ซึ่งในตัวอย่างนี้จะเป็นการประยุกต์ใช้งาน Node-red บน IOT2040 เพื่อทำการส่งข้อความ LINE ไปยัง Group ที่ต้องการ
ซึ่งการทำ LINE Notify ได้นั้น เป็นบริการของทาง LINE ที่ออกมารองรับการใช้งาน Notify อยู่แล้ว โดยรองรับการส่งข้อความไปยัง Group เท่านั้น ไม่สามารถส่งหาบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้ และต้องมีการตั้งค่าที่ฝั่ง LINE เสียก่อน
1. Login เข้าไปที่เวป https://notify-bot.line.me/en/ แล้วให้ click Log in ที่มุมบนขวา
2. Login ด้วย email ที่ลงทะเบียนกับ LINE application เอาไว้
Note: วิธีการตรวจสอบว่าเราได้ลงทะเบียน email กับ LINE เอาไว้หรือยัง ให้เปิด LINE ที่มือถือ แล้วไปที่ Settings -> Account -> Email address
3. click ที่ชื่อ account มุมบนขวา แล้วเลือกที่ My Page
4. เลื่อนลงมาด้านล่าง เลือก Generate token
5. เลือก Group ที่เราต้องการให้ส่ง LINE notify แล้วกดปุ่ม Generate token (LINE notify ไม่สามารถส่งหาบุคคลได้ ต้องส่งเป็น Group เท่านั้น)
6. โปรแกรมจะให้ token ออกมา ให้เรา Copy เอาไว้ก่อน เพื่อนำ code นี้ไปใส่ใน Node-red ภายหลัง
7. จะเห็นว่าตอนนี้ Connected services จะมี Group ที่เราต้องการแสดงขึ้นมาแล้ว
และจะมีข้อความจาก LINE Notify แจ้งมาว่าเราได้เพิ่ม Group เข้าไปที่ LINE Notify แล้วส่งมาที่มือถือ
8. ขั้นตอนสุดท้ายคือ เราต้องทำการ Invite LINE Notify เข้าไปใน Group ที่เราได้ตั้งค่าเอาไว้ด้วย
ด้วยการใช้งาน Node-red บน IOT2040 เราจะสามารถทำการส่ง LINE Notify ได้ด้วยคำสั่งพื้นฐานของทาง Node-red เอง เพียงแต่เราต้องเข้าใจรูปแบบคำสั่งที่ต้องใส่เข้าไปใน Node-red เท่านั้นเอง
หน้าตาของการทดสอบการส่งข้อความ จะมีหน้าตาดังรูป
1. ใน Node Function ให้เราพิมพ์ข้อความดังรูปเข้า
ข้อความที่เราต้องใส่เข้าไปใน Funnction มีดังนี้
โดยในส่วนของ xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx ก็คือ token ที่ได้รับมาจากการ Generate token ตอนเพิ่ม Group เข้าไปนั่นเอง
2. ใน Node http request ให้เราเลือกตั้งค่าดังรูป
3. สำหรับ Node timestamp อันแรก มีไว้เพื่อทดสอบการส่งเท่านั้น คือเมื่อเอา mouse click ก็ให้เริ่มส่งข้อความ ส่วน Node debug อันสุดท้าย เอาไว้ดูค่า payload เฉยๆ หลักๆคือเอาไว้ดูว่าค่าถูกส่งมาที่ Node ปลายทางหรือไม่ ของจริงอาจจะไม่ต้องใช้ก็ได้ถ้าทุกอย่างใช้งานได้แล้ว
4. เมื่อเรานำ mouse ไปคลิกที่ Node timestamp ก็จะเห็นว่า ข้อความที่เราเตรียมเอาไว้ได้ถูกส่งไปยัง Group ที่ต้องการแล้ว
ในส่วนของบทความนี้ เป็นเพียงการทดสอบการส่งด้วยการ click ที่ Node timestamp แบบ manual เท่านั้น ในความจริงแล้ว เราสามารถทำการเขียน Function ใน Node function เพื่อเปรียบเทียบค่าแล้วเปลี่ยนข้อความที่ต้องการส่ง หรืออาจจะมีการใช้ร่วมกับ Node อื่นๆเพื่อทำ rising edge หรือ falling edge ของ bit ต่างๆ แทนการกดปุ่ม timestamp แบบ manual ก็ได้
ซึ่งส่วนนี้ขอให้ผู้อ่านลองทดสอบเพื่อประยุกต์ใช้งานต่อไป
![]() |
![]() |
![]() |
PLC, HML, TIA, Siemens, Technical Information, IOT
INDUSTRIAL ELECTRICAL CO., LTD.
© 2014 Copyright by ie.co.th . All Rights Reserved. |
GOOGLE MAP |
SITE MAP |
|