การตรวจวัดและวิเคราะห์การใช้พลังงานไฟฟ้าจะช่วยให้โรงงานอุตสาหกรรมทราบถึงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ทำให้สามารถวางแผนอนุรักษ์พลังงานในบทความนี้เป็นการแนะนำให้รู้จักเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าและค่าที่ควรวัดในระบบต่างๆ
เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานในโรงงาน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ ระบบที่ใช้พลังงานไฟฟ้า และระบบที่ใช้พลังงานความร้อน มีรายละเอียดดังนี้
ตั้งแต่จุดที่ออกจากหม้อแปลง จนถึงตู้ส่งจ่ายหรือตู้ MDB (Main Distribution Breaker) ที่แต่ละจุดภายในโรงงาน
ค่าที่จำเป็นต้องตรวจวัด ได้แก่ แรงดันไฟฟ้า, กระแสไฟฟ้า, และ Power Factor เพื่อนำมาใช้ในการตรวจสอบสภาพโดยทั่วไปของระบบ เช่น ลักษณะการใช้ไฟฟ้า เวลาที่มีความต้องการกำลังไฟฟ้าสูงสุดเพื่อจัดโหลดหลีกเลี่ยงง Peak ของค่าไฟฟ้า ความสมดุลของแรงดันและกระแสไฟฟ้าในแต่ละเฟสเพื่อยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ไฟฟ้า
หมายถึง เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน (Split-type) เครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่าง (Window-type) และเครื่องปรับอากาศแบบเป็นชุด (Packaged Unit)
ค่าที่จำเป็นต้องตรวจวัด ได้แก่ ค่าทางไฟฟ้า รวมทั้งช่วงเวลาการตัดต่อของคอมเพรสเซอร์ เพื่อตรวจสอบสภาพการทำงานของคอมเพรสเซอร์ อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของลมจ่ายและลมกลับ รวมทั้งปริมาณลมจ่ายเพื่อคำนวณภาระการทำความเย็นและสมรรถนะการทำงานของระบบปรับอากาศซึ่งไม่ควรจะใช้พลังงานเกิน 1 กิโลวัตต์ต่อตันความเย็น และค่าอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศที่เข้าคอนเดนเซอร์และอากาศแวดล้อมภายนอก
นอกจากนี้ยังมีข้อมูลประกอบอื่น ๆ ที่จำเป็น เช่น ชนิดของเทอร์โมสตัท สภาพของแผงกรองอากาศ เวลาใช้งาน
เป็นส่วนประกอบของระบบปรับอากาศแบบรวมศูนย์ (Central System) ติดตั้งอยู่ในห้องเครื่องศูนย์กลาง ทำหน้าที่ส่งจ่ายน้ำเย็นไปยังเครื่องส่งลมเย็น (AHU)
ค่าที่จำเป็นต้องตรวจวัด ได้แก่ อัตราการไหลของน้ำเย็นและอุณหภูมิน้ำเย็นด้านเข้าและด้านออก เพื่อคำนวณภาระการทำความเย็น อัตราการไหลของน้ำหล่อเย็นและอุณหภูมิน้ำหล่อเย็นด้านเข้าและด้านออก เพื่อคำนวณอัตราการระบายความร้อนทิ้ง วัดค่าทางไฟฟ้าของคอมเพรสเซอร์ เพื่อใช้ประกอบกับภาระการทำความเย็นในการประเมินสมรรถนะการทำงานของระบบ ตลอดจนการสำรวจเวลาใช้งานของเครื่องทำน้ำเย็น
เป็นส่วนประกอบของระบบปรับอากาศแบบรวมศูนย์ ค่าที่จำเป็นต้องตวรจ ได้แก่ อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ลองลมจ่าย (Supply Air) และลมกลับ (Return Air) รวมทั้งปริมาณลมจ่ายเพื่อคำนวณภาระการทำความเย็นค ค่าทางไฟฟ้าของพัดลม ความดันตกคร่อมแผงกรองอากาศเพื่อตรวจสอบสภาพการใช้งานด้านลมจ่าย และความดันตกคร่อมและอัตราการไหลในท่อน้ำเย็นเพื่อตรวจสอบสมดุลน้ำ นอกจากนี้ยังต้องรวบรวมข้อมูลประกอบอื่นๆ ที่จำเป็นเช่นเดียวกับระบบปรับอากาศแบบหน่วยเดียว เช่น ชนิดของเทอร์โมสตัท สภาพของแผงกรองอากาศ และเวลาใช้งาน
ค่าที่จำเป็นต้องสำรวจและตรวจวัดสำหรับระบบแสงสว่าง ได้แก่ ชนิดและจำนวนของหลอดไฟในแต่ละพื้นที่ ตลอดจนค่าทางไฟฟ้าเพื่อคำนวณดัชนีการใช้แสงสว่าง วัดค่าความส่องสว่าง (Lux) เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของจำนวนและตำแหน่งของหลอดไฟเมื่อเทียบกับลักษณะการใช้งานของแต่ละพื้นที่ ซึ่งจำเป็นต้องวัดค่าความส่องสว่างในระดับความสูงเดียวกับพื้นที่ใช้งานจริง เช่น บนโต๊ะทำงาน หรือพื้นทางเดินภายในโรงงาน
ค่าที่จำเป็นต้องตรวจวัด ได้แก่ ค่าทางไฟฟ้า ความดันของอากาศอัด อัตราการไหลของอากาศเข้า รวมทั้งอุณหภูมิและความชื้นของอากาศเข้า เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องอัดอากาศ นอกจากนี้ ต้องมีการสำรวจจุดรั่วไหลของระบบส่งจ่ายอากาศอัดภายในโรงงาน และสำรวจเวลาการใช้งานเครื่องอัดอากาศ
การตรวจสอบประสิทธิภาพของเครื่องอัดอากาศสามารถทำได้โดยการจับเวลาที่ใช้ในการอัดอากาศเข้าถังเก็บอากาศจากถังเปล่าจนมีความดันเท่ากับค่าที่กำหนดร่วมกับการตรวจค่าทางไฟฟ้าของเครื่องอัดอากาศ ส่วนการตรวจวัดปริมาณอากาศรั่วไหลในระบบ สามาถทำได้โดยการจับเวลาที่เครื่องเดินและหยุดระหว่างความดันสองระดับที่ตั้งไว้ร่วมกับการตรวจวัดค่าทางไฟฟ้า
ในระหว่างการตรวจสอบและตรวจวัดการใช้พลังงาน ต้องพยายามค้นหาโอกาสในการอนุรักษ์พลังงานสำหรับอุปกรณ์ต่าง ๆ ตรวจสอบรายการเบื้องต้นได้ ดังนี้
INDUSTRIAL ELECTRICAL CO., LTD.
© 2014 Copyright by ie.co.th . All Rights Reserved. |
GOOGLE MAP |
SITE MAP |
|