จากสถานการณ์ COVID-19 ทำให้เกิดความตื่นตัวในวงการสาธารณสุขทั่วโลก เนื่องจาก COVID-19 สามารถติดต่อกันได้ง่ายจึงเกิดการระบาดของโรคเป็นวงกว้างได้อย่างง่ายดาย โดยทั่วไปเชื้อจะแพร่ผ่านละอองเสมหะ (droplets) ผู้รับเชื้อต้องอยู่ใกล้ชิดกับผู้ไอ จามระยะน้อยกว่า 90 ซม. และต้องสัมผัสกับสารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก น้ำลาย เสมหะเข้าทางเยื่อปาก จมูก ตา
แต่ภายในสถานพยาบาลมีความเสี่ยงสูงที่เชื้อแพร่กระจายผ่านอากาศ (airborne) หรือติดต่อผ่านการกระจายจากละอองลอย (aerosol) ทิศทางการไหลของอากาศในสถานพยาบาลมีความสำคัญมาก โดยทั่วไปจะใช้วิธีปรับแรงดันเพื่อควบคุมทิศทางของอากาศให้ไหลจากอากาศสะอาดไปสู่อากาศที่มีเชื้อปนเปื้อน เพื่อป้องกันเชื้อแพร่กระจายไปสู่บุคลากรทางการแพทย์
ผู้ป่วยที่กำลังได้รับการผ่าตัด ถือเป็นบุคคลที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ จึงต้องปรับสภาพห้องให้มีแรงดันเป็นบวก เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศภายนอกที่อาจมีเชื้อปนเปื้อนไหลเข้ามาสู่ตัวผู้ป่วยได้
ห้องแยกโรคผู้ป่วยแพร่เชื้อทางอากาศ รวมถึงเตียงขนย้ายและกล่องทำหัตถการ ควรมีการปรับสภาพอากาศให้เป็นแรงดันลบ เพื่อป้องกันอากาศที่มีเชื้อปนเปื้อนไหลไปสู่ภาพนอก
พิจารณาทิศทางการไหลของอากาศเป็นหลักสำคัญ ควรจัดสร้าง Ante room ก่อนเข้าห้องผ่าตัด เพื่อเป็นพื้นที่ปรับอากาศป้องกันระหว่างห้องผ่าตัดและภายนอก หนึ่งในแนวทางระบบปรับอากาศ คือ ควบคุมแรงดันอากาศภายในห้องผ่าตัดให้มากกว่า Ante room และควบคุมแรงดันภายใน Ante room ให้น้อยกว่าภายนอก เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อทางอากาศจากห้องผ่าตัดออกสู่ภายนอก
เพื่อให้แน่ใจว่าความดันภายในห้องต่ำกว่าบริเวณใกล้เคียง ต้องติดตั้งอุปกรณ์วัดความดันในตำแหน่งที่มองเห็นง่าย เช่น หน้าประตูทางเข้าห้อง เพื่อใช้ตรวจสอบความดันเป็นประจำทุกวัน ให้มีีแรงดันเป็นลบไม่น้อยกว่า 10-15 ปาสคาล
อุปกรณ์วัดความดันที่แนะนำคือ Series 2000 Magnehelic และ Series DM-1000 DigiMag จากแบรนด์ Dwyer ที่ใช้งานง่ายและราคาประหยัด
คลิกเพื่อดูรายละเอียดของสินค้า
INDUSTRIAL ELECTRICAL CO., LTD.
© 2014 Copyright by ie.co.th . All Rights Reserved. |
GOOGLE MAP |
SITE MAP |
|